วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่อง Search Engine

Search Engine คือ

เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา และคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป




รายชื่อเสิร์ชเอนจินเรียงลำดับตามความนิยม



สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา 
  1. กูเกิล (Google) 49.2%
  2. ยาฮู (Yahoo!) 23.8%
  3. เอ็มเอสเอ็น (MSN ) 9.6%
  4. เอโอแอล (AOL) 6.3%
  5. อาส์ก (Ask) 2.6%
      6.  อื่นๆ 8.5%


เสิร์ชเอนจินอื่นๆ

  • ไป่ตู้ (Baidu) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน
  • Cuil
  • ยานเดกซ์ (Yandex) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของรัสเซีย


เสิร์ชเอนจินในอดีตที่ยกเลิกการใช้งานแล้ว

ในประเทศไทยมีการพัฒนาเครื่องมือค้นหาของไทยในชื่อ สรรสาร พัฒนาโดยเนคเทค

ประเภทของเครื่องมือค้นหา
Catalog based search engine เป็นโปรแกรมสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่ง โดยโปรแกรมจะรวบรวม และแยกจัดเก็บเว็บไว้ในฐานข้อมูลตามประเภทหัวข้อของเว็บ เมื่อผู้ใช้มาค้นหา ก็จะสามารถเข้าไปดูตามหัวข้อต่าง ๆ แล้วดูหัวข้อย่อย ๆ เข้าไปอีกจนกว่าจะเจอหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการ ตัวอย่าง catalog based search engine คือ Yahoo เป็นต้น ซึ่งจะต่างกับ query based search engine ที่จะต้องพิมพ์คำค้นหาเพื่อตรวจสอบกับฐานข้อมูลว่ามีข้อมูลนี้หรือไม่ ถ้ามีก็จะแสดงรายชื่อออกมา

หลักการทำงานของเสิร์ชเอนจิน

  • การตรวจค้นหาข้อมูลในเว็บเพจต่างๆ
  • ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทำการตรวจค้นไว้ในฐานข้อมูล
  • การแสดงผลการค้นหาข้อมูล

        Web Search Engine


ความรู้เรื่อง Youtube



YouTube พลิกโฉมโลกออนไลน์
YouTube เป็นเว็บไซต์ที่สร้างปรากฏการณ์และความฮือฮาบนโลกอินเทอร์เน็ตตลอดทั้งปีที่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อ Google ยักษ์ใหญ่เว็บเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ตชื่อดัง ตัดสินใจทุ่มเงินถึง 1.65 พันล้านดอลลาร์ ซื้อเว็บแห่งนี้ หลังจากที่เว็บนี้เพิ่งก่อตั้งมาได้เพียง 21 เดือน 

YouTube เป็นเว็บรวมคลิปวิดีโอ ที่ใครๆ ก็สามารถจะอัพโหลดคลิปวิดีโอขึ้นไปไว้บนบนเว็บดังกล่าว เพื่อให้ทุกคนได้ดูฟรี ผู้ใช้ YouTube สามารถเปิดดูวิดีโอบนเว็บดังกล่าวได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องมีการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เพื่อดูวิดีโอใดๆ ทั้งสิ้น และไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนหรือสมัครเข้าใช้บริการแต่อย่างใด 

YouTube จึงนับเป็น “สื่อใหม่” อีกประเภทหนึ่ง แต่ยังมีความเป็น “สื่อสารมวลชน” แบบดั้งเดิม และเป็นสื่อที่สามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย 



(ผู้ก่อตั้ง YouTube)

เนื่องจากใครๆ ก็สามารถจะอัพโหลดไฟล์วิดีโอขึ้นไปฝากไว้บน YouTube ได้ โดยไม่ต้องผ่านการตรวจคัดกรองใดๆ ทำให้เว็บนี้เต็มไปด้วยคลิปวีดีโอทั้งดีเด่นและแปลกประหลาดมากมาย ทั้งยังสามารถดูกันได้ฟรีๆ ทำให้ YouTube กลายเป็นเว็บยอดฮิตที่โด่งดังสุดขีด ในฐานะของเว็บที่ติดดิน และมีลักษณะเป็นชุมชนออนไลน์อย่างแท้จริง คลิปวิดีโอที่เผยแพร่อยู่ในเว็บแห่งนี้ แพร่หลายในหมู่คนดูนักท่องเว็บอย่างรวดเร็ว ราวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส 

ส่วนคลิปวิดีโอโฆษณาที่อยู่ในหน้าโฮมเพจของ YouTube ก็ดูไม่เหมือนโฆษณาเอาเลย เว็บนี้ยังไม่มีวิดีโอลามกอนาจารให้ต้องร้อนใจ เพราะหากมีใครอัพโหลดคลิปลามกอนาจารขึ้นไปที่ YouTube ผู้ใช้ YouTube จะรีบแจ้งให้ผู้ดูแลเว็บทราบทันที และสามารถลบคลิปที่ไม่เหมาะสมออกได้โดยเร็ว 

นักโฆษณารายใหญ่ๆ ต่างหันมาสนใจที่จะลงโฆษณาบน YouTube ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ Google ยอมจ่ายแพงขนาดนั้นเพื่อซื้อเว็บนี้ เพราะขอเพียงแค่ให้ YouTube ได้รับเม็ดเงินโฆษณา เพียงร้อยละ 10 ของงบโฆษณาทางโทรทัศน์ ที่จำนวน 54,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีเท่านั้น เงินที่ Google ลงทุนไปในการซื้อ YouTube เพียง 1.65 พันล้านดอลลาร์ ก็จะเป็นการลงทุนที่คุ้มแสนจะคุ้ม 

อย่างไรก็ตาม 2 ผู้บริหาร YouTube คือ Chad Hurley ในฐานะ CEO และ Steve Chen ซึ่งดูแลด้านเทคโนโลยี ยังต้องพิสูจน์ว่า เว็บของพวกเขา ซึ่งยังคงไม่มีกำรี้กำไรมากนัก จะสามารถสร้างรายได้มหาศาลได้จริงๆ และยังจะต้องพิสูจน์ด้วยว่า เว็บของพวกเขาจะไม่ประสบชะตากรรมเดียวกับ broadcast.com เว็บวิดีโอออนไลน์ ซึ่งเคยถูก Yahoo! ซื้อไปด้วยเงิน 5.7 พันล้านดอลลาร์ในปี 1999 แต่บัดนี้ได้สิ้นชื่อไปแล้ว 

สิ่งที่น่าติดตาม YouTube ยังอาจจะพังทลาย จากการถูกรุมฟ้องร้องข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ จากเจ้าของคลิปวิดีโอที่ถูกนำมาลงใน YouTube โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ 

Chad Hurley วัย 29 ปี CEO ของ YouTube เกิดและเติบโตในเมือง Birdsboro รัฐ Pennsylvania เขาเป็นลูกชายคนกลางของพ่อซึ่งเป็นที่ปรึกษาการเงิน และแม่ซึ่งเป็นครู ตั้งแต่เด็กมาแล้ว เขาใช้เวลาหลายชั่วโมงฝังตัวเองอยู่กับการเรียนรู้เรื่องการออกแบบเว็บ การเล่นเกมออนไลน์ และการทดลองทำภาพแอนิเมชั่น 

ปี 1999 ทันทีที่ Hurley จบจาก Indiana University of Pennsylvanai ซึ่งเขาได้เปลี่ยนวิชาเอกจากคอมพิวเตอร์ศาสตร์ ไปเป็นกราฟิกดีไซน์และงานพิมพ์ เขาก็ได้เข้าทำงานกับPayPal บริษัทตั้งใหม่ในขณะนั้น ซึ่งกำลังพยายามคิดค้นวิธีที่จะทำให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ PDA สามารถโอนเงินระหว่างกันได้ 

งานชิ้นแรกของ Hurley ในบริษัทแรกที่เขาเข้าทำงานคือ ออกแบบโลโก้ของบริษัท ซึ่งยังคงเป็นโลโก้ที่ PayPal ยังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ ผลงานการออกแบบโลโก้ดังกล่าว ทำให้ Hurley ได้รับตำแหน่งนักออกแบบมือหนึ่งของบริษัทในทันที ส่วน PayPal ซึ่งขณะนี้กลายเป็นบริษัทดูแลระบบรักษาความปลอดภัยธุรกรรมการเงินออนไลน์ ไปเข้าตา eBay เว็บประมูลชื่อดัง ซึ่งได้ทุ่มซื้อบริษัทนี้ไปในปี 2002 ด้วยเงิน 1.54 พันล้านดอลลาร์ 





การทำงานที่ PayPal ทำให้ Hurley ได้พบเพื่อน 2 คนคือ Steve Chen และ Jawed Karim 2 วิศวกรคอมพิวเตอร์ของ PayPal ทั้งสามมักคุยกันถึงเรื่องการก่อตั้งธุรกิจใหม่เสมอๆ 

อย่างไรก็ตาม Karim วัย 27 ได้เกิดขัดแย้งกับ Hurley และ Chen และขณะนี้เขาได้แยกตัวไปเรียนต่อปริญญาโทคอมพิวเตอร์ศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Stanford ตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว แม้ว่า Karim จะยังคงมีชื่ออยู่บนเว็บ YouTube ในฐานะ 1 ใน 3 ผู้ก่อตั้งเว็บนี้ แต่ในประวัติความเป็นมาของเว็บแห่งนี้ กลับไม่มีชื่อของ Karim 

ประวัติของเว็บ YouTube ซึ่งเป็นที่แพร่หลายโดยทั่วไปเล่าว่า Hurley กับ Chen เกิดไอเดียที่จะทำเว็บที่สามารถแลกเปลี่ยนคลิปวิดีโอออนไลน์ หลังจากที่พวกเขาเจอปัญหาในการพยายามที่จะส่งคลิปวิดีโองานปาร์ตี้ ซึ่งจัดที่อพาร์ตเมนต์ของ Chen ในซานฟรานซิสโก ที่เพิ่งถ่ายเสร็จสดๆ ร้อนๆ ขึ้นไปไว้บนเน็ต เพื่อให้คนอื่นๆ ได้ชม 

ในตอนแรก ทั้งสามเพียงคิดอยากจะทำเว็บแบบ HOTorNOT.com เว็บหาคู่รักออนไลน์ แต่ต้องการให้มีภาพวิดีโอ แทนที่จะมีแต่ภาพนิ่ง ซึ่งคล้ายๆ กับที่มีใน MySpace เว็บรวม webblog ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างสูงในหมู่วัยรุ่นยุคนี้ 

อย่างไรก็ตาม ความคิดที่จะทำ HOTor NOT เวอร์ชั่นวิดีโอ ก็พับไปภายในเวลาไม่กี่เดือน ก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นการคิดทำเว็บ ที่จะช่วยให้ใครๆ สามารถนำวิดีโอมาฝากบนเว็บเพื่อประมูลขาย ซึ่งก็คือกำเนิดของ YouTube ในปี 2005 

แต่ปรากฏว่า ผู้ใช้ต่างอัพโหลดวิดีโอทุกอย่างขึ้นไปไว้บน YouTube ตามแต่ใจต้องการ นอกจากนี้ ยังพบว่า วัยรุ่นจำนวนมากทำ link มาที่ YouTube จาก blog ของตนที่อยู่ใน MySpace ซึ่งทำให้ YouTube พลอยเติบโตตามไป MySpace ไปด้วย 
สุดท้าย ผู้ก่อตั้ง YouTube ก็ต้องยอมแพ้ และปรับแนวคิดของ YouTube ใหม่ และนั่นก็คือการถือกำเนิดขึ้นอย่างแท้จริงของ YouTube ในฐานะเว็บรับฝากคลิปวิดีโอทุกชนิด ที่ทุกคนสามารถดูได้ฟรี 

ภายในเวลาไม่กี่เดือนต่อจากนั้น ก่อนหน้าที่คลิปวิดีโอช่วง Lazy Sunday ของรายการ Saturday Night Live จะเป็นคลิปที่ทำให้ยอดผู้เข้าเว็บ YouTube พุ่งกระฉูดถึงร้อยละ 83 ในเดือนธันวาคมปีที่แล้วด้วยซ้ำ นักลงทุนอย่าง Time Warner และ Sequoia Capital บริษัทลงทุนจาก Menlo Park ก็เริ่มสนใจที่จะลงทุนใน YouTube 

ขณะที่บริษัทโฆษณารายใหญ่ๆ ก็เริ่มสนใจ YouTube หลังจากที่โฆษณาของ Nike ที่ไม่มีอะไรเหมือนโฆษณาเลย ที่เป็นภาพของ Ronaldinho นักฟุตบอลชื่อก้องโลกของบราซิล ได้กลายเป็นคลิปวิดีโอยอดฮิตบน YouTube ทำให้ Sequoia ซึ่งเคยลงทุนใน Apple, Google และบริษัทไฮเทคอีกหลายแห่งมาก่อน เริ่มเข้ามาลงทุนใน YouTube เป็นครั้งแรกในปีที่แล้ว ด้วยเม็ดเงิน 8.5 ล้านดอลลาร์ 




ความสำเร็จของ YouTube เกิดจากความสามารถที่เป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกันของ Hurley กับ Chen ชื่อเว็บที่ฟังดูย้อนยุคนิดๆ โลโก้ง่ายๆ และการที่เว็บให้ความรู้สึกที่แปลกแตกต่าง แต่รวดเร็วและง่ายที่สุด 

แม้จะถูกกดดันจากนักโฆษณา แต่ทั้งสองกลับยืนหยัดในจุดยืน ที่จะไม่ยอมให้ผู้ใช้ต้องถูกบังคับให้ดูโฆษณา ในขณะที่รอดูวิดีโอบน YouTube ทำให้ YouTube สามารถรักษาภาพลักษณ์การเป็นชุมชนออนไลน์ที่แท้จริงเอาไว้ได้ โดยไม่กลายไปเป็นเพียงแค่สื่อแบบยุคเก่า ที่ไม่ได้เป็นของชุมชนอย่างแท้จริง

แต่ YouTube จะรักษาภาพลักษณ์เว็บใต้ดินอย่างนี้ไปได้อีกนานแค่ไหน ในเมื่อขณะนี้มีฐานะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาณาจักร Google อันยิ่งใหญ่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร Google รีบส่งสัญญาณต่อภายนอกทันทีว่า YouTube จะยังคงเป็นอิสระจาก Google 

นอกจากนี้ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของ YouTube ยังคงเป็นเรื่องการที่อาจจะถูกฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ จากเจ้าของคลิปวิดีโอที่ถูกละเมิดสิทธิ์บน YouTube ซึ่งแม้แต่ Google เองก็ยอมรับว่า หาก YouTube ถูกรุมฟ้องร้อง ก็อาจสร้างความเสียหายทางการเงินได้ไม่น้อย 

YouTube จะรอดสันดอนทางด้านกฎหมายนี้ไปได้หรือไม่ หรือจะเจอปัญหาแบบเว็บ Napster ในอดีต หรืออาจจะต้องสิ้นชื่อไปอย่าง Broadcast.com หรือไม่นั้น ยังเป็นเรื่องที่จะต้องรอดูกันต่อไปด้วยความระทึกใจ ไม่ผิดกับการดูคลิปวิดีโอบนเว็บยอดฮิตแห่งนี้ 


ข้อควรทราบเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง

มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง 
บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น(พ.ศ.๒๕๕๐)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่อง BLOG

ประวัติของบล็อก

      ประวัติ ของบล็อกบล็อก (Blog) คือ คำว่า “Weblog” ถูกใช้งานเป็นครั้งแรกโดย Jorn Barger ในเดือนธันวาคม ปี 1997 ต่อมามีฝรั่งที่ชอบเรียกสั้นๆ ชื่อนาย Peter Merholz จับมาเรียกย่อเหลือแต่ “Blog” แทนในเดือนเมษายน ปีค.ศ.1999 และจนมาถึงวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.2003 ทางOxford English Dictionary จึงได้บรรจุคำว่า blog ในพจนานุกรม แสดงว่าได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ บล็อก (Blog) ขึ้นแท่นศัพท์ยอดฮิต อันดับหนึ่ง ซึ่งถูกเสาะแสวงหา ความหมาย ทางพจนานุกรมออนไลน์ มากที่สุด ประจำปี 2004สำนักข่าวเอพีรายงานว่า เว็บไซต์ ดิกชั่นนารีหรือ พจนานุกรมออนไลน์ “เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์” ได้ประกาศรายชื่อ คำศัพท์ซึ่งถูกคลิก เข้าไปค้นหา ความหมายผ่าน ระบบออนไลน์มากที่สุด 10 อันดับแรกประจำปีนี้ ซึ่งอันดับหนึ่งตกเป็นของคำว่า “บล็อก” (blog) ซึ่งเป็นคำย่อของ “เว็บ บล็อก” (web log)โดยนายอาเธอร์ บิคเนล โฆษกสำนักพิมพ์พจนานุกรมฉบับ เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ กล่าวว่า สำนักพิมพ์ได้เตรียมที่จะนำคำว่า “บล็อก” บรรจุลงในพจนานุกรมฉบับล่าสุดทั้งที่เป็นเล่มและ ฉบับออนไลน์แล้วแต่จากความต้องการของผู้ใช้ที่หลั่งไหลเข้ามา ทำให้เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ตัดสินใจบรรจุคำว่า “บล็อก” ลงในเว็บไซต์ในสังกัดบางแห่งไปก่อน โดยให้คำจำกัดความไว้ว่า “เว็บไซต์ที่บรรจุ เรื่องราวเกี่ยวกับบันทึกส่วนตัวประจำวัน ซึ่งสะท้อนถึงมุมมอง ความคิดเห็นของบุคคล โดยอาจรวมลิงค์เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ตามความประสงค์ของเจ้าของเว็บบล็อกเองด้วย” โดยทั่วไป คำศัพท์ที่ถูกบรรจุลงในพจนานุกรมนั้นจะต้องผ่านการใช้งาน อย่างแพร่หลาย มาไม่น้อยกว่า 20 ปี ซึ่งหมายความว่าคำคำนั้นจะต้องถูกนำมาใช้โดยทั่วไปในระยะเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคำศัพท์ 





ทางเทคโนโลยีรวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆ อย่างเช่น โรคเอดส์ โรคไข้หวัดซาร์ส ถูกบรรจุลงในพจนานุกรมภายในระยะเวลาอันสั้นคำว่า “บล็อก” เริ่มใช้เป็นครั้งแรกๆผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสารเมื่อปี 2542 แต่ผู้รวบรวมพจนานุกรมตั้งข้อสังเกตว่าการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และการประชุมใหญ่ของ พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันเพื่อรับรองชื่อ ผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนชาวสหรัฐฯ ผู้ติดตามข่าวสารส่วนใหญ่สนใจ และต้องการทราบความหมายที่แท้จริงของคำดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อคำศัพท์เหล่านั้นปรากฏเป็นข่าวพาดหัวตามหน้าหนังสือพิมพ์ทั่ว ไปนอกเหนือจากคำว่า “บล็อก” แล้ว คำศัพท์ที่ติดอันดับถูกเข้าไปค้นหาความหมายสูงสุด 10 อันดับแรกประจำปีนี้ได้แก่ “อินคัมเบนท์” (incumbent) ซึ่งหมายถึงผู้อยู่ในตำแหน่ง, “อิเล็กทอรัล” (electoral) หรือคณะผู้เลือกตั้งขณะที่บางคำเป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับสงครามในอิรัก เช่น “สตอร์มส” (stroms) ซึ่งมีความหมายว่ าการโจมตีอย่างรุนแรง, “อิน-เซอร์เจ้นท์” (insurgent) หรือกองกำลังฝ่ายต่อต้านการปกครอง อิรัก, “เฮอร์ริเคน” (hurri- cane) ซึ่งหมาย ถึงผลกระทบอย่างรุนแรง, “เพโลตัน” (peloton) ที่แปลว่ากองทหารขนาดเล็ก และซิคาด้า (cicada) ซึ่งความหมายตามรูปศัพท์ แปลว่าจักจั่น 


ความหมายของบล็อก


   ความ หมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง หรือ เรียกง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ที่มีรูปแบบเนื้อหาเป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วยบล็อก (อังกฤษ: blog) หรือ เว็บล็อก (weblog) เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า blog ย่อมาจากคำว่า weblog หรือ web log โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง




การใช้งานบล็อค 
ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที
ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก
สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น




  • ลักษณะของเว็บไซต์ที่เป็นบล็อก สังเกตได้ง่ายๆ จากลักษณะต่างๆ ดังนี้คือ
    • มีการบันทึกเนื้อหาโดยเจ้าของบล็อกอย่างสม่ำเสมอ
    • ข้อมูลจะถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ คือรายการล่าสุดจะถูกแสดงไว้ด้านบนสุดของเว็บเพจ แล้วไล่ลำดับย้อนหลังตามวันเวลาการเขียนไปเรื่อยๆ
    • มักจะมีการลิงค์ไปหาบล็อกอื่นที่ผู้เขียนสนใจหรือได้เสนอความคิดเห็นโยงต่อจากข้อเขียนที่เขาอ้างถึง ดังนั้น นอกจากบล็อกจะใช้ในการเขียนและเผยแพร่เรื่องราวต่างๆ แล้ว ก็ยังเป็นแหล่งรวมลิงค์ที่เจ้าของบล็อกนั้นๆ ใช้เป็นฐานเพื่อเสริมต่อความรู้อยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นลิงค์ของบล็อกอื่นๆ หรือลิงค์ของเว็บไซต์ก็ตาม
    • บันทึกที่เขียนไว้ในบล็อกมักจะมีการแยกแยะเป็นกลุ่มเนื้อหาตามหัวข้อหลักๆ ที่ผู้เขียนสร้างขึ้น เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อ่าน ที่สนใจในบันทึกที่มีความสัมพันธ์กันในใจความหลัก
    • และเมื่อผู้อ่านได้รับความรู้ต่างๆ จากผู้เขียนบล็อกแล้ว ผู้อ่านมักจะมีการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกลุ่มผู้อ่านและผู้เขียนบล็อก
    บล็อกแต่ละบล็อกจะมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น บล็อกที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ บล็อกด้านการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย บล็อกด้านการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ส เป็นต้น การสร้างจุดยืนของบล็อกเช่นนี้ และมีการเขียนที่เป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำให้บล็อกเป็นที่น่าสนใจติดตามจากผู้อ่านมากมาย
    แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนแต่ละคนอาจจะมีความรู้ความถนัดในหลากหลายด้าน การจะนำความรู้ทั้งหมดมาเขียนในบล็อกเดียวอาจทำให้การแยกแยะความรู้เป็นไปด้วยความลำบาก ทำให้หาแก่นความรู้ได้ยาก และสำหรับผู้อ่านแล้วก็อาจจะยากในการติดตามอ่าน ดังนั้น สำหรับผู้เขียนหนึ่งคน ความสามารถของระบบในการสร้างบล็อกได้มากกว่าหนึ่งบล็อก เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ทีแตกต่างกัน น่าจะเป็นฟังก์ชันการทำงานที่น่าสนใจ ซึ่ง GotoKnow.org เสนอจุดเด่นในเรื่อง Multi- blog นี้อย่างชัดเจน



    ประโยชน์ของ Blog 
    • สามารถนำไปใช้ในงานด้านธุรกิจ การตลาด การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาต่างๆ ได้
    • ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ ถูกต้องและชัดเจนยิ่งกว่าเดิม ซึ่งได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้อื่น
    • ทำให้ทันโลกทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
    • เราสามารถเป็นเจ้าของ Blog เองได้
    • เป็นเวทีใช้แสดงความคิดเห็นของเรา ทำให้คนที่ชอบเรื่องเดียวกับเรา เข้ามาอ่าน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ถ้าเราเขียนดี มีคนติดเข้ามาอ่านอยู่เรื่อยๆ